1. หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ก)
2. หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ภาคีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มงานอายุรกรรม ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ก)
3. หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ปฏิบัติงาน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ข)
ผลิตอายุรแพทย์ เพื่อปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุขระดับทุติยภูมิและตติยภูมิของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรอื่นของรัฐและเอกชน ด้วยการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะแล้ว ให้มีคุณสมบัติพร้อมเข้ารับการประเมินและสอบเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาอายุรศาสตร์ ตามมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาอายุรศาสตร์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภารับรอง
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
5.1 การบริบาลผู้ป่วย (patient care)
ก. มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการรวบรวมข้อมูล สำหรับนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเป็นองค์รวม โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
ข. วินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางอายุรศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ค. บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
ง. ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพ
5.2 ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (medical knowledge and procedural skills)
ก. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกาย และจิตใจ และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริบาลผู้ป่วย
ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์
ค. มีทักษะในการทำหัตถการเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
ง. วิพากษ์งานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
5.3 ทักษะระหว่างบุคคล และการสื่อสาร (interpersonal and communication skills)
ก. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะทางอายุรศาสตร์ให้แก่แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความเมตตา เคารพในการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ และมีภาวะผู้นำ
จ. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น
5.4 การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (practice-based learning and improvement)
ก. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
ข. ปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพและเป็นที
ค. การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
ง. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
5.5 การปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)
ก. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
ข. เคารพในสิทธิผู้ป่วย
ค. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ง. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
จ. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
5.6 การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice)
ก. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของกระทรวงสาธารณสุข
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ก) และหลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ภาคีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มงานอายุรกรรม ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ก)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง
2. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
3. ได้ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะของแพทยสภาครบถ้วน
4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง
5. สำหรับผู้สมัครที่ไม่มีต้นสังกัดจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ต่ำกว่า 3 ปี
หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมแพทย์ปฏิบัติงาน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2566 (แผน ข)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง
2. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
3. ได้รับการคัดเลือกเป็นแพทย์พี่เลี้ยงโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะของแพทยสภาครบถ้วนที่โรงพยาบาลราชบุรี
4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง
ตารางเวลาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหลังปริญญา
ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประชุมคณะกรรมการหลังปริญญา | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | |||||||
กำหนดการสอบเพื่อวุฒิบัตรโดย | สอบ ASCE/ Long case ปี 3 |
สอบ long case ปี 1, 3/ สอบ MCQ ปี 2 |
สอบ MCQ เพื่อเลื่อนชั้นปี 1 |
สอบ MCQ & SAQ ปี 2 |
||||||||
EPA 1-7 | -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- | |||||||||||
กำหนดการงานวิจัย | 1 | 1 | 1 | |||||||||
กำหนดการประเมินการปฏิบัติงาน | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
แพทย์ใช้ทุนปีที่ 1
• หน้าที่
o ตามที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลราชบุรี
แพทย์ใช้ทุนปีที่ 2/แพทย์ประจำบ้านปี 1
• หน้าที่
o ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยอายุรกรรม และหอผู้ป่วยวิกฤต
o ออกตรวจผู้ป่วยนอก อายุรศาสตร์ทั่วไป 1 ครั้ง/สัปดาห์
o เวรผู้ป่วยใน ไม่เกิน 8-10 ครั้ง/เดือน
o เวรห้องฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชบุรี
o ฝึกทำหัตถการเจาะไขกระดูก (Bone marrow) ที่ OPD และหอผู้ป่วย
o ฝึกทำหัตการทำ Central line ที่ห้องไตเทียม
o เข้าร่วมและเป็นผู้นำเสนอกิจกรรมทางวิชาการของกลุ่มงานอายุรกรรม และโรงพยาบาล
o ให้นำเสนอ Proposal งานวิจัยที่ทำในเดือนมกราคม
o เรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ตามที่กลุ่มงานอายุรกรรมจัดให้
o เป็นแพทย์พี่เลี้ยงช่วยสอนนักศึกษาแพทย์
o มีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมของทางกลุ่มงานอายุรกรรม
o ปฏิบัติงานนอกเหนือจากกลุ่มงานอายุรกรรม ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชบุรี
แพทย์ใช้ทุนปีที่ 3/แพทย์ประจำบ้านชั้นปี 2
• หน้าที่
o ปฏิบัติงานตามหน่วยสาขาวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ของปีการศึกษา
o รับปรึกษาผู้ป่วยต่างแผนกในเวลาราชการตามสาขาวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
o ออกตรวจผู้ป่วยนอก อายุรศาสตร์ทั่วไป 1 ครั้ง/สัปดาห์ และคลินิกพิเศษตามที่ได้รับมอบหมาย
o เวรผู้ป่วยใน ไม่เกิน 8-10 ครั้ง/เดือน
o เวรห้องฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชบุรี
o ปฏิบัติหน้าที่แทน Chief Resident หรือ แพทย์ใช้ทุนปี 4 ในช่วงเวลาที่ Chief Resident หรือ แพทย์ใช้ทุนปี 4 ไม่สามารถปฏิบัติงานได้
o เป็นพี่เลี้ยงพี่เลี้ยงช่วยสอนนักศึกษาแพทย์
o เข้าร่วม และเป็นผู้นำเสนอกิจกรรมทางวิชาการของกลุ่มงานอายุรกรรม และโรงพยาบาล
o เก็บข้อมูลวิจัย และนำเสนอความก้าวหน้าทางวิจัย ในเดือนมกราคม
o มีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมของทางกลุ่มงานอายุรกรรม
o ปฏิบัติงานนอกเหนือจากงานอายุรกรรม ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชบุรี
แพทย์ใช้ทุนปีที่ 4/แพทย์ประจำบ้านปี 3
• หน้าที่
o เป็น Chief ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรม และหอผู้ป่วยวิกฤต
o ออกตรวจผู้ป่วยนอก อายุรศาสตร์ทั่วไป 1 ครั้ง/สัปดาห์ และคลินิกพิเศษตามที่ได้รับมอบหมาย
o เวร 2nd ในการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรมและเป็น 1at ในการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต และรับปรึกษานอกแผนกนอกเวลาราชการ 6-8 ครั้ง/เดือน
o เป็นแพทย์พี่เลี้ยงช่วยสอนนักศึกษาแพทย์
o เข้าร่วมและเป็นผู้นำเสนอกิจกรรมทางวิชาการของกลุ่มงานอายุรกรรมและโรงพยาบาล
o ประสานงานภายในกลุ่มงาน ร่วมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับแพทย์รุ่นน้อง/Resident
o สรุปผล และวิเคราะห์งานวิจัย และนำเสนองานวิจัย ในเดือนมกราคม
o มีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมของทางกลุ่มงานอายุรกรรม
o ปฏิบัติงานนอกเหนือจากกลุ่มงานอายุรกรรม ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชบุรี
ปี 1 | ปี 2 | ปี 3 | |
---|---|---|---|
Ward | 10 เดือน | อยู่เวร | 8 เดือน |
ICU/CCU | |||
โรงพยาบาลทุติยภูมิ | 1 เดือน | 1 เดือน | |
สาขาต่างๆของอายุรศาสตร์ | - | ||
• บังคับ | 10 เดือน | 1 เดือน | |
• เลือกเสรี | 2 เดือน | 1 เดือน | |
หยุด | พักร้อน 2 สัปดาห์ | ||
รับปรึกษานอกแผนก | 2 สัปดาห์ | ||
Research | 2 สัปดาห์ | 2 สัปดาห์ |
*หมายเหตุ ตารางการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม การปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยอายุรศาสตร์รวมเป็นเวลาอย่างน้อย 21 เดือน และปฏิบัติงานในสาขา เฉพาะทางรวมกันไม่เกิน 15 เดือน
กิจกรรมหลักทางวิชาการของกลุ่มงานอายุรกรรม
กำหนดให้ทำวิชาการเพื่อพัฒนาการสอน และการเรียนรู้ให้แก่แพทย์ใช้ทุนช่วยสอน ในสาขาอายุรกรรม ดังนี้
1. จัดกิจกรรมด้านการอภิปรายวิชาการ เช่น journal club หรือ review ต่างๆ เดือนละ 1 ครั้ง
2. จัดกิจกรรมด้านการอภิปรายตัวอย่างผู้ป่วย เช่น admission round สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ Morbidity
- Mortality conference เดือนละ 2 ครั้ง
3. เลือกผู้ป่วยตัวอย่าง (Case study) เพื่อทำ grand round หรือ Interesting case เดือนละ 1 ครั้ง
4. Interdepartment conference ที่กลุ่มงานอายุรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบปีละ 3 ครั้ง
5. Clinical pathologic conference จัดปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง
6. สอนบรรยายวิชาการ
7. จัดกิจกรรมสอบ MCQ, OSCE, SAQ และ Long case อย่างน้อย 1-2 ปี/ครั้ง
8. จัดให้มีการนำเสนองานวิจัยทุกเดือนมกราคมของทุกปี
ตารางกิจกรรม
วัน | เวลา | กิจกรรม | สถานที่ |
---|---|---|---|
อังคาร | 12:30-13:30 น. | Journal club / Morbidity-mortality conference / Interesting case | ห้องประชุมกลุ่มงานอายุรกรรม ตึกเจ้าฟ้าฯ ชั้น 3 |
พุธ | 12:30-13:30 น. | The care project | |
14:00-16.00 น. |
Spot diagnosis อาทิตย์ที่ 1 Grand Round (อาทิตย์ที่ 2,4) |
||
พฤหัสบดี | 12:30-13:30 น. | Admission Report / X-ray conference / Interesting case | ห้องประชุมกลุ่มงานอายุรกรรม ตึกเจ้าฟ้าฯ ชั้น 3 |
ศุกร์ | 12:30-13:30 น. | Guest lecture (3-4 ครั้งต่อปี) | ห้องประชุมกลุ่มงานอายุรกรรม ตึกเจ้าฟ้าฯ ชั้น 3 |
13.30-15.00 น. | Basic science/core lecture |
หมายเหตุ
• ตารางกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
• กิจกรรมวิชาการจัดที่ห้องประชุมกลุ่มงานอายุรกรรม ชั้น 3 ตึกเจ้าฟ้าฯ
• จะมีรายละเอียดผู้รับผิดชอบในแต่ละเดือนประกาศให้ทราบที่บอร์ดติดประกาศ สำนักงานอายุรการ
• การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เลื่อน conference ใดๆ ต้องแจ้งลาวงหน้าไปที่อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม และอาจารย์ที่ดูแลการศึกษาหลังปริญญา อย่างน้อย 1 สัปดาห์
• ในกรณีมีกิจกรรมวิชาการของโรงพยาบาลราชบุรี ให้งดกิจกรรมของทางกลุ่มงาน โดยปรึกษากับอาจารย์ที่ดูแลการศึกษาหลังปริญญา
• มีการทบทวน slide ที่จะนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษาในกิจกรรมที่มีก่อนนำเสนอทุกครั้ง
• ผู้ทำกิจกรรมต้องเก็บ file ที่นำเสนอกิจกรรมไว้ใน computer ห้องประชุม และส่งเอกสารที่นำเสนอที่สำนักงานอายุรกรรมทุกครั้ง
ตารางการทำ Activity ของแพทย์หลังปริญญา
R3 | R1 | Int4 | Int3 | Int1 | รวมปี | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
MM | 1 ครั้ง/y | 2 ครั้ง/y | 2 ครั้ง/y | 10 ครั้ง | Off ธค พค สอบบอรด | ||
X ray conference | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 6 ครั้ง | ||||
journal | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 9 ครั้ง | ||
Topic review | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y | 1 ครั้ง/y (interesting case) |
การปฏิบัติงานในเวลาราชการ
หอผู้ป่วย | แพทย์ประจำบ้านปี 1 แผน ก. | แพทย์ประจำบ้านปี 2 แผน ก. | แพทย์ประจำบ้านปี 3 แผน ก. | แพทย์เพิ่มพูนทักษะ | แพทย์ประจำบ้านปี 1 แผน ข. | แพทย์ประจำบ้านปี 2 แผน ข. | แพทย์ประจำบ้านปี 3 แผน ข. |
---|---|---|---|---|---|---|---|
6 เดือน | (ปฏิบัติงานที่ศิริราช) | 6 เดือน | 2 เดือน | 12 เดือน | 12 เดือน | 12 เดือน | |
อายุรกรรมชาย 1 | 2 | - | 1 | 2 | - | 1 | |
อายุรกรรมชาย 2 | 1 | - | 1 | 1 | - | 1 | |
อายุรกรรมหญิง 1 | 1 | - | 1 | 1 | - | 1 | |
อายุรกรรมหญิง 2 | 1 | - | 1 | 1 | - | 1 | |
ICU Med 1 | - | 1 | 5 | - | 2 | ||
ICU Med 2/ Strode unit |
1 | - | 1 | - | - | - | - |
CCU | - | - | - | - | - | - | - |
รพท. | - | - | - | - | 1 | - | - |
Elective | - | - | - | - | - | - | 2 |
วนหน่วยสาขาต่างๆ ของอายุรศาสตร์ | - | - | - | - | - | 12 | - |
Research | - | - | - | - | 1 | - | 1 |
การอยู่เวรนอกเวลาราชการ
ลำดับการปฏิบัติงาน | แพทย์ | จำนวนคน |
---|---|---|
1 | นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 | |
2 | แพทย์เพิ่มพูนทักษะ | 1 |
3 | แพทย์ประจำบ้านปี 1, 2, 3 | 1 |
4 | อาจารย์แพทย์ | 1 |
รายชื่อแพทย์หลังปริญญา ปีการศึกษา 2564
แพทย์พี่เลี้ยงปี 4
1. นพ.ชวิศศิลป์ ปิ่นชุมพลแสง
2. พญ.ณัฏศิมา เลิศปัญญานุช
แพทย์พี่เลี้ยงปี 3
1. พญ.ศศิประภา ศีระสุวรรณ์
แพทย์พี่เลี้ยงปี 2
1. นพ.ชาลี พงศ์พิไลพฤติ
2. พญ.รัญณิชา แสงศิริวุฒิ
3. พญ.ฐิติรัตน์ ดำรงทวีศักดิ์